หลังจากที่ผมได้เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ก็ได้ลองอ่านเรื่องเกี่ยวกับ CMS
ดูเห็นว่ายังไม่ค่อยจะอัพเดตกันซักเท่าไหร่จึงลองเอาชีทเก่าๆสมัยเรียนมาลองอัพเดทให้เราๆท่านๆได้อัพเดทกันครับ
  | ||||||||
|
||||||||
|
หลังจากที่ผมได้เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ก็ได้ลองอ่านเรื่องเกี่ยวกับ CMS
ดูเห็นว่ายังไม่ค่อยจะอัพเดตกันซักเท่าไหร่จึงลองเอาชีทเก่าๆสมัยเรียนมาลองอัพเดทให้เราๆท่านๆได้อัพเดทกันครับ
ก่อนอื่นเราก็ลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องสีและการสื่อสารด้านสีกันก่อน
จริงๆแล้วเรื่องของ CMS นั้นจะไม่มีทางได้เกิดเลยหากไม่มีเรื่องที่ผมจะกล่าวดังต่อไปนี้เกิดขึ้นนั่นก็คือ
การสื่อสารด้านสีนั่นเอง
ลองมายกตัวอย่างกันดู
สมมุติว่าเรากำลังจะซื้อกระเบื้องหลังคาบ้านซักหน่อยแล้วเราก็ลองโทรไปสั่งกระเบื้องที่ร้านขายกระเบื้องลองคิดถึงประโยคคำพูดของเขาดูนะครับ
เรา :สวัสดีครับคือผมอยากจะสั่งกระเบื้องตรา ซัก500 แผ่น ครับ
เถ้าแก่ร้านขายกระเบื้อง:ได้ ครับแล้วจะเอาสีอะไรดีครับ
เรา: เอาสีเขียวละกัน
เถ้าแก่ร้านขายกระเบื้อง:เอาสีเขียวไหนดีครับ
เรา: แล้วมีสีเขียวอะไรบ้างละ
เถ้าแก่ร้านขายกระเบื้อง: มีเขียวอ่อน เขียวแก่ เขียวขี้ม้า เขียวไข่กา ลลลล
เรา : โอ้แม่เจ้าเอาเขียวเข้มละกัน
และเมื่อเราได้รับกระเบื้อง
เฮ้ยทำไมสีเขียวเข้มของเราสีมันออกเป็น ขี้ๆ อย่างนี้ฟระ
เห็นไหมครับนี่คือปัญหาที่เกิดแต่ปัญหาที่ผมกล่าวมามันออกจะล้าสมัยไปซักหน่อย
ถ้ามายุคนี้
ก็คงต้องบอกว่า
เถ้าแก่ครับ ผมอยากได้กระเบ้ืองเบอร์
ที่เห็นบนอินเตอร์เน็ตช่วยส่งมาให้ผมด้วยนะครับ
และเมื่อกระเบื้องส่งมา
เราก็จะโดดโหยงแล้วก็พูดว่าทำไมสีกระเบื้องของเรามันช่างแตกต่างจากที่เห็นบน
คอมเหลือเกิน
เห็นไหมครับว่าจริงๆแล้วในการสื่อสารด้านสีจริงๆแล้วมีปัญหามาเนิ่นนานซึ่งจริงๆ
แล้วปัญหามันก็อยู่แค่ว่าสีเขียวไหนที่เราต้องการนั่นเอง
zoom_in (28th July 2009)
สีเขียวไหนหว่าที่เราต้องการ
Last edited by Aznable; 28th May 2007 at 10:33.
จริงๆแล้วเรื่องของปัญหาการสื่อสารด้านสีมีมานานมาก
แล้วแต่เราๆในฐานะคนเล่นกล้องเพิ่งจะมาเจอปัญหาแบบนี้จริงๆจังๆเมื่อไม่นานมานี้
เองทั้งนีก่อนที่ผมจะบอก ถึงปัญหาของพวกเรา
ผมจะขอแอบพูดเกี่ยวกับลักษณะของสีซักนิดหน่อยก่อนเนื่องจากอาจได้ใช้กันในการสื่อสารเรื่องสี
ทั้งนี้หากเรานำสีทั้งหมดที่มองเห็นได้มาจัดเรียงเป็นลักษณะ สามมิติ
ก็จะทำให้เราทราบได้ว่าทั้งนี้สีที่เราสามารถมองเห็นสามมาระบุได้ด้วยสามองค์ประกอบคือ
hue หรือ สีสัน เช่น สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน
saturation หรือ ความสดบางตำราหรือบาง system เรียกว่าchroma
lightness หรือ ความสว่างนั้นเอง
ซึ่งในการแยกองค์ประกอบของสีนี้เองทำให้เรามีระบบสีซึ่งถูกคิดค้นโดยองค์กรต่างๆ
มากมายแต่ที่น่าทำความรู้จักก็มีอยู่แค่
สี่ระบบเท่านั้น(สำหรับผมนะครับแต่ถ้าท่านอื่นจะบอกว่ามีมากกว่านี้ก็ไม่ว่ากันนะเอ้อ)
ระบบที่ 1 Munsell Color System
ซึ่งผมจะขอย่อแบบคร่าวๆว่าข้อเด่นของระบบนี้มีอะไรไว้ดังนี้นะครับ
1 จัดสีตามการรับรู้ของมนุษย์
2 แบ่งสีสรร hue ออกเป็น 10 สีสรร มี red yellow+red yellow yellow+green
green green+blue blue blue+magenta magenta magenta+red
3 แบ่ง lightness ออกเป็น 10 ระดับแล้วเรียกว่า value
4 แบ่ง saturation ออกเป็น 10 ระดับแล้วเรียกว่า Chroma
ระบบที่ 2 Natural Color system NCS
ซึ่งข้อเด่นของระบบนี้ก็คือ
1 จัดสีตามการรับรู้ของมนุษย์
2 กำหนดให้มีสีพื้นฐานทั้งหมด หกสี white black yellow red blue green
ซึ่งสีทั้งหมดถูกกำหนดให้มีรหัสสีตามพื้นฐานทั้ง 6
ระบบที่ 3 ระบบ pantone
ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นระบบที่เราๆคุ้นเคยดีที่สุดที่เป็นลักษณะเฉพาะของระบบนี้ก็มี
1 เป็นระบบสีที่เกิดจากการผสมกันของหมึกพิมพ์ในสัดส่วนหรือในเปอร์เซ็นที่ต่างกัน
2 ไม่ได้อิงตามการรับรู้สีของมนุษย์
3 เป็นระบบที่มีประโยชน์ในการผสมหมึกหรือกำหนดสีการพิมพ์เป็นเม็ดสกรีน
4 สีสิ่งพิมพ์หรือหมึกอาจไม่เหมือนตัวอย่างสี หากสีและกระดาษที่ใช้ไม่ใช่มาตรฐานของ pantone
krittiya (12th April 2009)
ระบบที่ 4 ระบบสุดท้ายซึ่งเป็นระบบที่ทุกคนใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน จริงๆนะเออก็คือ
ระบบสีที่อิงอุปกรณ์นั่นเอง
อย่าพึ่งงงนะครับว่าอุปกรณ์อะไรมันก็คืออุปกรณ์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนั่นแหละครับ
เช่น มอนิเตอร์ กล้อง etc
ทั้งนี้ระบบสีแบบอิงอุปกรณ์ไม่ได้สร้างจากพื้นฐานการเห็นสีของมนุษย์
และสีจะจัดเรียงตามค่าสีของอุปกรณ์เท่านั้น
และสีจะจัดเรียงตามค่าสีของอุปกรณ์เท่านั้นซึ่งใระบบนี้
เราสามารถจำแนกการผสมสีของระบบนี้ีได้ออกเป็นอีก 2
ระบบซึ่งเราใช้กันอยู่ทุกวันคือ
1.ระบบการผสมสีแบบ RGB หรือจะเรียกให้โก้ๆก็
คือระบบการผสมสีแบบบวกหรือ(additive color mixing)
ซึ่งก็คือสีที่เราเห็นบนจอภาพหรือ monitor หรือ tv หรืออุปกรณ์ ที่ใช้
ระบบดิจิตอลทั้งหลายแหล่นั่นแหละครับรวมไปจนถึงกล้องดิจิตอลของเราๆท่านๆ
ด้วยนะเอ้อซึ่ง RGB ก็เกิดจากการผสมกันของ สีแดง
เขียว และน้ำเงินนั่นเอง ทั้งนี้สีแต่ละสีก็จะมีค่าจั้งแต่ 0-255
2.ระบบการผสมสีแบบ CMYK หรือการผสมสีแบบลบ subtractive color mixing
ที่เกิดจากการผสมสี เขียวฟ้าหรือcyan ม่วงแดงหรือmagenta เหลืองyellow
และ ดำ black
ทั้งนี้จำนวนสีที่เกิดจากการผสมสีแบบ CMYK
จะเกิดจากเปอร์เซ็นเม็ดสกรีนของแต่ละสีซึ่งแต่ละสีจะมีค่าตั้งแต่ 0-100
และจากการสื่อสารเรื่องสีนี้เองทำให้เกิดดารวัดสีหรือ color measurement
ขึ้นมาเพื่อเป็นการสร้างการสื่อสารด้านสีที่ถูกต้องซึ่งการวัดสีมีทั้งสิ้น
2 วิธีคือ
1.การวัดสีด้วยมนุษย(subtractive)์คงไม่ต้องบอกนะครับว่าวิธีนี้ทำอย่างไร ก็ตรงตัวครับ
ก็ให้คนเป็นผู้ดูสีแล้วบอกว่าสีอะไรไงครับ
ซึ่งวิธีนี้มีข้อเสียมากเนื่องจากประสาทการรับรู้ของสีในคนแต่ละคนไม่เหมือน
กันและสภาวะแวดล้อมในการวัดสีมีผลต่อการวัดสี
จึงทำให้วิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่เป็นมาตราฐานและมีโอกาสในความผิดพลาดสูงมาก
2.การวัดสีโดยใช้อุปกรณ์(objective)คือใช้เครื่องมือแทนมนุษย์นั่นแหละครับ
ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะวัดค่าสีออกมาเป็นตัวเลขนะครับทั้งนี้เนื่องจาก
การเห็นสีประกอบไปด้วยสามองค์ประกอบจึงทำให้การวัดค่าสีด้วยอุปกรณ์ได้ตัวเลข
ออกมา สามชุดเช่นเดียวกันคือ
-ค่าการกระจายพลังงานของแหล่งกำเนิดแสง
-ค่าการสะท้อนแสง
-ค่า color matching function
ซึ่งค่าเหล่านี้หากลงลึกไปกลัวว่าทุกท่านจะเงงเพราะจะนำไปสร้างเป็นสมการทาง
คณิตศาสตร์และแปลค่า
จึงทำให้เกิดหน่วยในการเรียกสีและ color space ขึ้นมา
ซึ่งหน่วยในการเรียกสีและค่าcolor space
ที่เรานิยมและใช้แพร่หลายมากที่สุดนั่นก็คือค่า CIELabซึ่ง
ถ้าเรานำ ค่า L a b มาพล็อตเป็นชาร์ตสามมิติเราก็จะได้ค่าดังนี้
L =ค่าความสว่างจนถึงมืด
A=ค่าสีแดงจนถึงสีเขียว
B=ค่าสีเหลืองจนถึงสีน้ำเงิน
และจากการที่เราสามารถวัดค่าสีและกำหนดค่าสีได้นี่เองทำให้เรารูว่าสึมีความแตก
ต่างกันในเฉดสีเดียวกันหรือคนละเฉดสีกัน
นั่นก็คือสิ่งที่เราเรียกว่า color diffences นั่นเอง
ซึ่งเราก็จะมีสมการทางคณืตศาสตร์ที่เอาไว้ดูว่าค่าสีนั้น
มีความแตกต่างกันมากหรือน้อย
ได้ดังนี้ครับ
DE=DL^2+Da^2+Db^2)^1/2
DE=Delta E หรือก็คือความแตกต่างกันของสีนั่นเอง
DL=ความแตกต่างของความสว่าง
Da=ความแตกต่างของของความเป็นสีแดงถึงเขียว
Db=ความแตกต่างของความเป็นสีเหลืองถึงน้ำเงิน
ซึ่งเมื่อค่าแตกต่างของสีที่เริ่มเห็นวัดเป็นตัวเลขได้เท่ากับ 1 หน่วย
ถ้าความแตกต่างสีเท่ากับ 2 จะเห็นความแตกต่างเล็กน้อย
ถ้าความแตกต่างสีเท่ากับ 3 จะเห็นความแตกต่างแต่น่าจะยังพอรับได้
ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างสีมีดังนี้
-ผู้สังเกตุการณ์หรือผู้ดูสี(ในกรณีใช้ตาคน)
-แหล่งกำเนิดแสง
-ขนาดของวัตถุในการเทียบสี
-อิทธิพลของฉากหลัง
-อิทธิพลของแสงจากสภาวะแวดล้อม
และสืบเนื่องจากปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้เกิดมาตรฐานในการมองสีขึ้น
นั่นก็คือ
-ต้องมองสีใน daylight ที่6500 k หรือ 5500 k (ปัจจุบันเรานิยม 6500 k ครับ)
-ความเข้มของแสงต้องมีค่าส่องผ่านที่ 1000 lux และต้องมีค่าแบบสะท้อนที่
2000 lux
-ฉากหลังจะต้องเป็นสีเทากลางที่ ค่าเท่ากับ N7
-ไม่มีแสงจากสภาวะแวดล้อม(none ambient light )
และเมื่อเราเข้าใจเรื่องของสีและการวัดค่าสีดีแล้วผมก็จะเข้าเรื่อง CMS
ฉบับ Digital Imaging กันซักที(ชักเหนื่อยแฮะ)
เอาหละครับลองมาดูกันว่าในกระบวนการการผลิตภาพหรือสิ่งพิมพ์ในระบบดิจิตอล
นั้นเป็นอย่างไรและแตกต่างจากระบบอานาล็อกกันอย่างไรถึงเกิดปัญหาและเราต้อง
แก้อย่างไร ลองคิดถึงระบบอานาล็อกก่อน
ในอดีตนั้นหากเราต้องการงานที่มีคุณภาพสูงๆเน้นความถูกต้องของสีเป็นสำคัญก็
คงจะต้องเริ่มตั้งแต่การเลือกใช้ฟิลม์สไลด์ที่มีคุณภาพสูงๆให้สีที่เที่ยงตรงและใช้
เลนส์ที่มีคุณภาพสูงรวมไปจนถึงใช้แล็บที่มีคุณภาพสูงมากๆตามไปด้วย
เราจึงจะสามารถมั่นใจได้ว่าภาพที่ได้ได้สีสันที่ถูกต้อง
(รึเปล่าหว่าเพราะเราไม่สามารถย้อนกลับเวลาไปดูตอนถ่ายได้ว่าสีเป็นอย่างไรนี่นา)
แต่พอมาถึงยุคดิจิตอล กระบวนการกลับไม่ใช่แค่เราเลือกซื้อฟิมล์
และเลนส์หรือเลือกแล็บเท่านั้นซึ่งกระบวนการผลิตในยุคดิจิตอลก็จะมี
กระบวนการที่แตกต่างออกไปคือ
เราเป็นคนถ่ายโดยใช้กล้องดิจิตอลได้ดป็นไฟล์
( ซึ่งถ้าถามผมจริงๆแล้วผมว่าปัญหาเกิดตั้งแต่ตรง
นี้แล้วครับเพราะจริงๆแล้วก็เป็นอย่างที่เราๆท่านๆรู้ๆกันว่ากล้องแต่ละยี่ห้อให้สีที่ต่าง
กันหรือแม้แต่กล้องยี่ห้อเดียวกันแต่คนละรุ่นกันก็ให้สีที่ต่างกันหรือแม้กระทั่งพวกดิจิ
ตอลแบ๊คราคาเป็นล้านก็ยังไม่มียี่ห้อไหนกล้าคุยว่าให้สีที่เที่ยงตรงกับความเป็นจริง
ทำให้เราต้องอาศัย computer และ solftware
ต่างๆมาช่วยปรับภาพไม่ว่าจะเป็นวิธีการใช้ raw file
photoshop .,etc เยอะแยะ)
เสร็จแล้วเราก็นำมาลงคอม
(ผมกล้าเอาหัวเป็นประกันว่าเก้าสิบเปอร์เซ็นของคนใช้กล้อง ดิจิตอลเอารูปลงคอม)
เพื่อ retouch หรืออื่นๆ เสร็จแล้วค่อย ส่งแล็บ หรือ
ปรินท์เอง(แล้วแต่กำลังทรัพย์ของแต่ละท่าน)
ในขั้นตอนของการนำลงคอมนี่เองที่เป็นตัวการที่ทำให้ผมและท่านๆเกิดอาการงงหัว
ลองเปรียบเทียบดูสิครับระหว่างการทำงานของทั้งสองระบบ
Bookmarks