Basic Photography EP.12 : ควบคุมสีภาพด้วยระบบวัดแสงในกล้อง
ระบบวัดแสงของกล้องดิจิตอล
กล้องดิจิตอลทุกตัวจะต้องควบคุมแสงที่เข้าไปยังกล้องให้พอดี เพื่อไม่ให้ภาพมืดหรือสว่างเกินไปซึ่งจะทำให้ภาพไม่สวย ซึ่งการควบคุมแสงนั้น ในกล้องจะมีระบบวัดแสงติดตั้งอยู่ คอยวัดว่าปริมาณแสงมีค่าเท่าใด แล้วจะบอกค่าแสงที่เหมาะสมในรูปแบบของความเร็วชัตเตอร์ ช่องรับแสง และความไวแสง ขึ้นกับระบบถ่ายภาพที่ใช้งานในขณะนั้น ซึ่งปริมาณแสงที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแสงในขณะนั้น ลักษณภาพ และความต้องการของผู้ถ่ายภาพด้วย ตัวกล้องจะวัดแสงแล้วบอกแสงค่ากลางให้ ผู้ใช้จะใช้ค่านั้นเลยก็ได้ หรือปรับแต่งให้ภาพสว่างขึ้นหรือมืดลงอีกก็ได้เพื่อให้ภาพเป็นไปดังที่ต้องการ โดยการชี้นำของเสกลวัดแสง ผสานกับภาพในช่องมองภาพ EVF หรือ LCD หลังกล้อง และกราฟ Histogram
ระบบวัดแสงในกล้องถ่ายภาพ
ระบบวัดแสงในกล้องถ่ายภาพดิจิตอลจะเป็นระบบวัดแสงผ่านเลนส์ โดยกล้อง DSLR จะมีเครื่องวัดแสงแยกออกมาติดตั้งที่ใต้กระจกสะท้อนภาพหรือช่องมองภาพเพื่อวัดแสง ส่วนกล้องแบบ Mirrorless จะวัดแสงบนเซ็นเซอร์โดยตรงซึ่งจะมีความแม่นยำมากกว่า การวัดแสงของกล้องจะมีรูปแบบการทำงานอยู่เรียกว่า ระบบวัดแสง (Light Metering System) ซึ่งหลักๆ ประกอบด้วย 4 ระบบใหญ่ๆ คือ
1. ระบบวัดแสงแบ่งพื้นที่ (Multi-segment Light Metering) ระบบจะแบ่งพื้นที่วัดแสงออกเป็นส่วนๆ แล้วทำการวัดแสงพื้นที่แต่ละส่วนมาทำการเปรียบเทียบ โดยอ้างอิงจากลักษณะภาพ ระยะทาง จุดโฟกัส ความสว่าง รวมไปถึงสีสันของวัตถุในภาพ แล้วหาค่าที่เหมาะสมที่สุดออกมา เหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการความรวดเร็ว ให้ความแม่นยำสูง
2. ระบบเฉลี่ยทั้งภาพ (Average Light Metering) วัดแสงเฉลี่ยทั้งภาพเท่าๆ กัน เหมาะสำหรับการถ่ายภาพตามแสงที่มีสภาพแสงไม่ยุ่งยากซับซ้อน
3. ระบบเฉพาะจุด(Spot Metering) วัดแสงเฉพาะตรงกลางเล็กๆประมาณ 2-3% ของพื้นที่ภาพเท่านั้น ส่วนมากจะอยู่ตรงกลาง หรือตามจุดโฟกัส(เมื่อล็อคเข้ากับจุดโฟกัส) เหมาะกับภาพที่ต้องการอ่านค่าแสงเฉพาะตำแหน่งเท่านั้น เช่น การถ่ายภาพบุคคคล
4. ระบบเฉพาะพื้นที่ (Partial) ทำงานแบบเฉพาะจุดแต่พื้นที่ใหญ่กว่าประมาณ 7-12% ของพื้นที่ภาพ
5. ระบบเฉลี่ยหนักกลาง (Center-weight average metering) เป็นการผสมระบบเฉพาะจุดและเฉลี่ยทั้งภาพเข้าด้วยกันการ
การใช้งานในปัจจุบันมักใช้ระบบแบ่งพื้นที่ร่วมกับการดูความสว่างของภาพจากจอ EVF และกราฟ Histogram เพื่อควบคุมความสว่างของภาพ ส่วนกล้อง DSLR จะใช้การดูเสกลวัดแสงเป็นหลัก เมือถ่ายภาพตามเสกลวัดแสง ภาพที่ได้มักจะเป็นภาพที่พอดี แต่อาจจะมีบางภาพที่สว่างหรือมืดเกินไป เพราะวัถตุในภาพมีพื้นที่ขาวและดำไม่สมดุลกัน ทำให้การเฉลี่ยค่าแสงผิดพลาด ซึ่งผู้ใช้ต้องเข้าในหลักการทำงานของระบบวัดแสงเสียก่อน
หลักการทำงานของระบบวัดแสงกับสีเทา 18%
ภาพทีเราถ่ายกันจะมีความแตกต่างของแสงและสีหลากหลายมาก และมีค่าแสงที่ไม่เท่ากันในแต่ละจุด ระบบวัดแสงของกล้องถูกออกแบบมาให้วัดแสงที่บริเวณโทนกลางคือ สีเทา 18% จึงจะวัดแสงได้ถูกต้อง และเมื่อถ่ายภาพมาจุดวัดแสงจะกลายเป็นโทนกลางหรือเทา 18% เมื่อมองภาพเป็นขาวดำ ดังนั้นเมื่อ
1. วัดแสงจากวัตถุสีโทนกลาง หรือเฉลี่ยสีของวัตถุที่ตำแหน่งวัดแสงเป็นโทนกลาง จะวัดแสงได้ถูกต้อง ภาพมีสีสันสด ซึ่งเป็นลักษณะการถ่ายภาพทั่วไปที่มีวัตถุสีสันหลากหลาย
2. วัดแสงจากวัตถุสีโทนอ่อนหรือวัตถุขาว มีการถ่ายภาพย้อนแสง มีสีขาวในภาพมากๆ กล้องจะวัดแสงหนักไปทางส่วนขาวแล้วถ่ายออกมาเป็นเทา ทำให้ภาพมืดเกินไป เรียกว่า ภาพอันเดอร์ หรือภาพมืด ต้องแก้โดยการเปิดรับแสงเพิ่มขึ้น โดยการลดความเร็วชัตเตอร์ เปิดช่องรับแสงกว้างขึ้น หรือชดเชยแสงเพิ่มขึ้นทาง + ซึ่งในกล้อง Mirroless จะเห็นในช่องมองภาพทันทีว่าภาพมืดก่อนจะถ่ายภาพ
3. วัดแสงจากวัตถุสีโทนเข้มหรือวัตถุดำ มีส่วนเงามืด กล้องจะวัดแสงหนักไปทางส่วนมืดแล้วถ่ายออกมาเป็นเทา ทำให้ภาพสว่างเกินไป เรียกว่า ภาพอัโอเวอร์ หรือภาพสว่าง ต้องแก้โดยการเปิดรับแสงลดลง โดยการเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ เปิดช่องรับแสงแคบลงขึ้น หรือชดเชยแสงเพิ่มขึ้นทาง + ซึ่งในกล้อง Mirroless จะเห็นในช่องมองภาพทันทีว่าภาพมืดก่อนจะถ่ายภาพ
การวัดแสงนอกจากการดูเสกลวัดแสง และภาพใน EVF แล้ว ยังควรดูกราฟ Histogram ประกอบด้วยจะแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งกราฟ Histogram จะกล่าวถึงในตอนต่อไป บทที่ 13
Bookmarks