ทำความเข้าใจระบบ AF ของ Canon
อ้างอิงจากเอกสาร Canon Lens Work III, คำอธิบายในใบจดทะเบียนลิขสิทธิ์สหรัฐ, และหมายเหตุจาก Chuck Westfall เราสามารถสรุปย่อๆ ได้ดังนี้
ระบบออโต้โฟกัสนั้นถูกวางตำแหน่งไว้ที่พื้นด้านล่างของกระจก ตัวเซนเซอร์จะได้รับภาพจากกระจกแบบพิเศษ (Semi-silvered mirror เป็นกระจกที่จะทำการสะท้อนแสงส่วนหนึ่งออกไป ในขณะที่อนุญาตให้แสงอีกส่วนทะลุผ่านไปได้) ซึ่งแสงที่ได้ผ่านกระจกชั้นแรกมาแล้ว จะถูกสะท้อนลงไปยังเซนเซอร์โดยกระจกบานที่สอง ซึ่งถูกวางไว้หลังกระจกชั้นแรก ซึ่งภาพที่ตกกระทบลงบนเซนเซอร์ออโต้โฟกัสนั้น ควรจะเป็นภาพเดียวกันกับที่เซนเซอร์รับภาพพึงจะได้รับ (ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนในบางครั้ง)
เซนเซอร์ออโต้โฟกัสแต่ละตัวประกอบไปด้วยอาเรย์ซึ่งมีตัวรับแสงเรียงเป็นแถวสั้นๆ ทั้งหมดสองแถว โดยที่เซนเซอร์ออโต้โฟกัสจะใช้อาเรย์แถวเดียวในกรอบนอก และจะใช้สองอาเรย์ซึ่งวางทับกัน (แนวตั้งและแนวนอน) เป็นเซนเซอร์ตรงกลาง แต่ในกรณีที่เลนส์มีความไวแสง F/2.8 หรือสว่างกว่า อาเรย์แนวตั้งแถวที่สองในเซนเซอร์ตรงกลางจะถูกกระตุ้นให้ทำงาน
อาเรย์แต่ละแถวจะตอบสนองต่อรายละเอียดบนวัตถุที่พาดผ่านตัวอาเรย์ในแนวตั้งฉาก เพราะฉะนั้นอาเรย์ที่วางในแนวนอนจะตอบสนองต่อรายละเอียดในแนวตั้งเท่านั้น และในทางกลับกัน อาเรย์แนวตั้งจะตอบสนองต่อรายละเอียดในแนวนอน
แต่อาเรย์พวกนี้จะไม่ตอบสนองใดๆ ต่อเส้นที่ขนานกับตัวมันเอง เซนเซอร์ตัวตรงกลางซึ่งประกอบไปด้วยอาเรย์ทั้งสองแบบจะตอบสนองต่อรายละเอียดทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะวางไว้ในแนวไหน และเมื่ออาเรย์แนวตั้งแถวที่สองถูกกระตุ้นการทำงาน ข้อมูลที่ได้รับจากอาเรย์ทั้งหมดจะช่วยให้ความแม่นยำในการตรวจจับโฟกัสเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า
อาเรย์แต่ละแถวนั้นโดยปกติแล้วจะยาวกว่าเส้นระบุในจอวิวไฟน์เดอร์ถึงสามเท่า เพราะฉะนั้นตัวเซนเซอร์นั้นจริงๆ แล้วมองเห็นรายละเอียดที่อยู่นอกเหนือเส้นระบุในจอวิวไฟน์เดอร์ และอาจจะโฟกัสลงบนวัตถุที่อยู่นอกเหนือเส้นระบุได้ ในกรณีที่วัตถุเหล่านั้นมีความตั้งฉากกับอาเรย์สูงกว่าวัตถุในเส้นระบุ
เมื่อคุณทำการเปลี่ยนเลนส์ ไม่ว่ากล้องจะเปิดหรือปิดอยู่ก็ตาม ตัวกล้องจะตรวจสอบเลนส์ถึงคุณลักษณะต่างๆ รวมไปถึงขนาดรูรับแสงกว้างสุด ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการออโต้โฟกัส
เมื่อคุณกดชัตเตอร์ลงไปครึ่งหนึ่ง (หรือปุ่ม * ในกรณีที่คุณเปลี่ยนปุ่มควบคุมโฟกัส) ตัวเซนเซอร์ออโต้โฟกัสจะถูกกระตุ้นให้ ดู ภาพที่ถูกส่งต่อมาจากเลนส์ในทางทิศทาง (แต่ละแถวของจุดรับแสงในแต่ละอาเรย์จะดูภาพจากทิศทางตรงข้ามกัน) และทำการระบุถึงค่าความแตกต่างในเฟสของแสงจากทิศทางแต่ละทาง ในการดูหนึ่งครั้ง มันจะคำนวณถึงระยะทางและทิศทางของเลนส์ที่จะต้องหมุนเพื่อหักล้างกับความแตกต่างในเฟสของแสง จากนั้นจึงสั่งให้เลนส์เคลื่อนตามที่ต้องการและหยุด ระบบจะไม่หมุนกลับไปมาเพื่อหาโฟกัสที่ดีที่สุด ไม่แม้กระทั่งจะดูภาพอีกครั้งหลังจากได้เคลื่อนเลนส์แล้ว
แต่ถ้าเกิดภาพเริ่มแรกนั้นไม่อยู่ในโฟกัสมากเสียจนตัวเซนเซอร์ไม่สามารถจับความแตกต่างของเฟสแสงได้ กล้องจะทำการหมุนเลนส์ไปมารอบหนึ่ง เพื่อค้นหาความแตกต่าง แต่ถ้าเกิดยังไม่สามารถค้นหาความแตกต่างนั้นได้อีก กล้องจะหยุดการหาโฟกัส
แม้ว่ากล้องจะไม่ได้ทำการดูภาพเป็นครั้งที่สองเพื่อเช็คว่าได้โฟกัสตามที่ต้องการ ตัวเลนส์นั้นเช็ครอบที่สองว่าตัวเองได้ทำการเคลื่อนไปยังจุดที่ถูกสั่งมาอย่างถูกต้อง การเช็ครอบที่สองของเลนส์นี้เพื่อแก้ไขความผิดพลาดอันอาจจะเกิดจากการลื่นไถลหรือแรงสะท้อนกลับภายในกลไกของเลนส์ และส่วนมากมักจะเกิดขึ้นกับการเคลื่อนเลนส์เป็นระยะทางยาวๆ และมักจะแก้ไขเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
เมื่อกล้องได้ทำการระบุว่าเลนส์จะต้องเคลื่อนไปไกลเท่าไรและระยะทางไหนแล้ว กล้องจะยอมรับความผิดพลาดในการเคลื่อนเลนส์ไม่เกินระยะชัดลึกของเลนส์ (ในกรณีที่เลนส์ช้ากว่า F/2.8) และไม่เกิน 1/3 ของระยะชัดลึก ถ้าเลนส์สว่างเทียบเท่า F/2.8 หรือมากกว่า (จากตรงนี้จะเป็นการอธิบายเรื่อง DOF นิดนึง ขอข้ามนะครับ: ผู้แปล)
ผลจากการยอมรับให้มีข้อผิดพลาดเล็กน้อย ทำให้กล้องสามารถที่จะวางตำแหน่งโฟกัสตรงจุดไหนก็ได้ที่อยู่ภายในระยะที่ยอมรับได้ และไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในจุดโฟกัสเดิมเสมอไป
Facebook Page: www.facebook.com/chakrityau
DeviantArt: http://palmbook.deviantart.com
"Men are not disturbed by things, but the view they take of things." - Epictetus (55-135 A.D.)
"What about things like bullets?" - Herb Kimmel, Behavioralist, Professor of Psychology, upon hearing the above quote (1981)
Bookmarks